รู้หรือไม่! หางนกยูงรำแพน ท่ามกลางความงดงามมีความลับซ่อนอยู่
|
นกยูง หรือ Peacock จัดว่าเป็นไก่ฟ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุุดในวงศ์ไก่ฟ้า มีสีสันที่สวยงาม โดยเฉพาะตัวผู้ที่มีขนหางยาว เมื่อแผ่ขยายออกเพื่ออวดตัวเมียจะมีความสวยงามเป็นอย่างยิ่ง การแผ่หางของนกยูงนี้เรียกกันว่า รำแพน มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดคือ นกยูงอินเดียและนกยูงไทย ชอบอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบผสม กินเมล็ดพืช แมลงและสัตว์เล็กๆ เป็นอาหาร ชอบร้องตอนเช้าและเวลาพลบค่ำ พบได้ในแถบตอนเหนือของอินเดีย พม่า ไทย ลาว จีน รวมไปถึงเวียดนาม กัมพูชา มาเลเซียและชวาด้วย
หลายคนนั้นเคยเห็นนกยูงรำแพนหาง แต่น้อยคนที่จะรู้ว่าการรำแพนของมันนั้นมีความลับซ่อนอยู่ จากการศึกษาวิจัยของนักวิจัยพบว่า การรำแพนของนกยูงจะมีเสียงออกมาด้วย แต่เสียงที่ว่านี้เป็นเสียงความถี่ต่ำที่คนเราไม่สามารถได้ยิน และจากงานวิจัยของ James Hare และ Angela Freeman จาก กมหาวิทยาลัยแมนิโทบา ประเทศแคนาดา ซึ่งตีพิพม์ใน published in the journal Animal Behaviour ระบุว่านกยูงสามารถตอบสนองต่อเสียงที่เกิดจากการรำแพนหางได้ เสียงที่ว่านี้อาจจะเป็นการอวดตัวเมียเหมือนกับความสวยงามของหาง และความแข็งแรงของตัวผู้ก็อาจมีผลต่อเสียงด้วย



ที่มา : สำรวจโลก